หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการภาครัฐ

ชื่อหลักสูตร

ไทย     หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการภาครัฐ
อังกฤษ  Doctor of Philosophy  in Public Management Innovation

ชื่อปริญญา และสาขาวิชา

ชื่อเต็ม (ไทย)     หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (นวัตกรรมการจัดการภาครัฐ)
ชื่อย่อ (ไทย)      ปร.ด. (นวัตกรรมการจัดการภาครัฐ)

ชื่อเต็ม (อังกฤษ)  Doctor of Philosophy(Public Management Innovation)
ชื่อย่อ (อังกฤษ)  Ph.D. (Public Management Innovation)

รูปแบบของหลักสูตร

เป็นหลักสูตรระดับปริญญาเอก (หลักสูตร 3 ปี และหลักสูตร 4 ปี) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552
แบบ 1.1 หลักสูตร 3 ปีการศึกษา และใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
แบบ 2.1 หลักสูตร 3 ปีการศึกษา และใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 6 ปีการศึกษา
แบบ 2.2 หลักสูตร 4 ปีการศึกษา และใช้เวลาศึกษาไม่เกิน 8 ปีการศึกษา

 ประเภทของหลักสูตร
หลักสูตรระดับปริญญาเอก

ภาษาที่ใช้
ภาษาไทย/ภาษาอังกฤษ

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
แบบ 1.1   จบการศึกษาระดับปริญญาโทต่อปริญญาเอกแบบไม่มีงานรายวิชาจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 48 หน่วยกิต
แบบ 2.1  จบการศึกษาระดับปริญญาโทต่อปริญญาเอกแบบมีงานรายวิชาจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 51 หน่วยกิต
แบบ 2.2  จบการศึกษาระดับปริญญาตรีต่อปริญญาเอกแบบมีงานรายวิชาจำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตรไม่น้อยกว่า 72 หน่วยกิต
การรับเข้าศึกษา
รับนักศึกษาไทย และนักศึกษาต่างประเทศ
ความร่วมมือกับสถาบันอื่น
เป็นหลักสูตรของสถาบันโดยเฉพาะ

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

นักวิจัยและนักวางแผนในหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีความรู้และความเข้าใจเชิงระบบ

เกี่ยวกับการจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ ต่อไปนี้

  • ผู้บริหารงานภาครัฐและเอกชนระดับสูง
  • นักการเมืองและข้าราชการทางการเมือง
  • บุคลากรในหน่วยงานภาครัฐและเอกชน
  • ข้าราชการทหาร ตำรวจและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง
  • อาจารย์และนักวิจัยประจำสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา
  • นักวิชาการและนักวิจัยที่มีศักยภาพสูงด้านนวัตกรรมการจัดการภาครัฐในหน่วยงานหรือองค์กรระดับกระทรวง กรม และสถาบันภาครัฐที่มีศักยภาพและความสามารถในระดับสูงในการผลิตองค์ความรู้ใหม่ บริหาร และดำเนินการวิจัยที่นำไปสู่ข้อเสนอเชิงนโยบายตามมาตรฐานสากล
  • นักพัฒนาชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชน และมวลชนสัมพันธ์ในภาคเอกชนหรือองค์กรอิสระที่มีศักยภาพและมีความสามารถในระดับสูงในการสร้างนวัตกรรมเกี่ยวกับการจัดการภาครัฐ รัฐประศาสนศาสตร์ และนโยบายสาธารณะ
  • นักวิชาการอิสระด้านการจัดการภาครัฐ รัฐประศาสนศาสตร์ และนโยบายสาธารณะ

ปรัชญา ความสำคัญ และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร

1.1 ปรัชญา

มุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตที่มีความรู้ความเข้าใจ สามารถคิดเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ มีความสามารถในการปรับตัว และประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่ในการนำไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กรภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมโลก และพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้ารองรับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมให้มีการค้นคว้าวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ตามยุคสมัยที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติโดยมี หลักปรัชญาว่า

“มุ่งผลิตนักวิชาการและนักวิจัยเพื่อก้าวสู่ความก้าวหน้าทางอาชีพและเป็นนักบริหารองค์กรแห่งอนาคตที่มีความรู้ความเข้าใจในการสร้างนวัตกรรมการจัดการ ประยุกต์ใช้ความรู้ใหม่ในการพัฒนาองค์กรไปสู่องค์กรอัจฉริยะ ภายใต้บริบทการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกที่ผันเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว”

  • วัตถุประสงค์

เพื่อผลิตดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมการจัดการภาครัฐ ที่มีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณและมีคุณลักษณะ ดังนี้

1) มีความรู้ ความสามารถที่สอดคล้องและสนับสนุนกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมในอนาคตของประเทศอย่างยั่งยืน

2) มีความรู้ ความเข้าใจทั้งในทฤษฎีและทักษะการปฏิบัติ นำไปสู่การวิจัยเพื่อการจัดการนวัตกรรมทางการจัดการที่หลากหลายมิติแบบบูรณาการ

3) มีความสามารถในการสร้างสรรค์นวัตกรรมและจัดการองค์ความรู้บนพื้นฐานการวิจัยขั้นสูงเกี่ยวกับทฤษฎี ระเบียบวิธีวิจัย ทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ การวางแผน และการวิเคราะห์เชิงระบบด้านนวัตกรรมการจัดการภาครัฐในการขับเคลื่อนองค์กรด้วยการใช้เทคโนโลยีสู่การพัฒนาในเชิงสังคม

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังระดับหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLO)

PLO 1:  สามารถนำความรู้และทักษะการจัดการเชิงนวัตกรรม ไปประยุกต์ใช้กับการบริหารองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน และทางด้านการทำงานวิชาการ
Sub PLO 1.1 มีความรู้และทักษะทางด้านการจัดการภาครัฐเชิงนวัตกรรม
Sub PLO 1.2 สามารถสังเคราะห์สร้างองค์ความรู้การจัดการภาครัฐเชิงนวัตกรรมในการปรับใช้ในองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน
Sub PLO 1.3 สามารถใช้ความรู้และทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดการเชิงนวัตกรรม และการจัดการภาครัฐ ในการทำงานวิชาการ
PLO 2: มีจรรยาบรรณในการทำงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับนวัตกรรมการจัดการภาครัฐและเอกชน และมีคุณธรรมจริยธรรมในการทำงานด้านการจัดการองค์กร
Sub PLO 2.1 มีความซื่อสัตย์ จรรยาบรรณในการทำงานวิชาการและการดำเนินงานวิจัย
Sub PLO 2.2 มีคุณธรรมและจริยธรรมในการบริหารจัดการองค์กร
Sub PLO 2.3 ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อปฏิบัติ มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต ต่อองค์กรและประเทศชาติ
PLO 3: ทักษะมีกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ที่เป็นระบบและนำไปสร้างสรรค์ พัฒนาและแก้ปัญหางานให้กับองค์กรที่ปฏิบัติงาน ต่อยอดเชื่อมโยงความรู้เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลขและเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ในงานวิจัย
Sub PLO 3.1 มีทักษะความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์อย่างเป็นระบบ
Sub PLO 3.2 สามารถใช้ความรู้และทักษะที่เรียนมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาองค์กรด้วยการจัดการเชิงนวัตกรรม
Sub PLO 3.3 สามารถใช้ความรู้สู่การแก้ไขปัญหาในสภาพที่เกิดขึ้นจริงในองค์กรที่ตนปฏิบัติงานจากการสร้างสรรค์งานวิจัย
Sub PLO 3.4 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสืบค้น เก็บรวบรวมข้อมูล และนำเสนอได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Sub PLO 3.5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงตัวเลขและเนื้อหาได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์ในการสร้างองค์ความรู้ใหม่
PLO 4: มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี มีภาวะผู้นำ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง ทำงานเป็นทีม และมีความรับผิดชอบ
Sub PLO 4.1 มีบุคลิกภาพและมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ทำให้เกิดความร่วมมือร่วมใจซึ่งกันและกัน
Sub PLO 4.2 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี เคารพและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
Sub PLO 4.3 มีภาวะผู้นำ เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงแก่องค์กรให้สามารถปรับตัวเพื่อรองรับกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมภายนอกและภายใน
Sub PLO 4.4 มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ตนเอง และสังคม

การรับสมัคร
รับสมัครที่เว็ปไซต์สำนักบัณฑิตศึกษา http:// www.grad.rmut.ac.th
เปิดเรียนภาคการศึกษาที่ 1 เดือนกรกฎาคมของทุกปี

ติดต่อสอบถาม

ผศ.ดร.สนิทเดช จินตนา โทร 02-549 -4960-61, 080-588-9080

งานวิชาการ คุณปิยังกูร  โทร. 02-549 4980 (ในเวลาราชการ)
Website: www.larts.rmutt.ac.th
E-mail: PMI.FLA@outlook.co.th

 

สอบถามเพิ่มเติม

อ่านรายละเอียดข้อมูลเพิ่มเติม  หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต